THB
  • THB
  • USD
  • EUR
  • GBP

FREE SHIPPING in Thailand for orders over THB2,000!

เตาไมโครเวฟ เขาว่าอันตราย?

ไมโครเวฟ Microwave หรือเตาไมโครเวฟ เครื่องอุ่นอาหารในยามที่เร่งรีบยอดนิยม ที่สามารถอุ่นอาหารได้รวดเร็วทันใจ แต่... ก็มีข่าวลือมาจนได้ว่า ไมโครเวฟอันตราย ถ้าใช้อุ่นอาหารแล้วอาหารนั้นจะเปื้อนรังสีเมื่อทานบ่อยๆจะทำให้เกิดมะเร็งได้ หลายคนเชื่อจนจิตตก หลายคนเชื่อแต่ทำอะไรไม่ได้ และมีอีกหลายคนที่ไม่เชื่อ เรามาดูกันว่า “เตาไมโครเวฟ” อันตราย? อย่างที่เขาว่าจริงหรือ


ข้อมูลจาก: รศ.พญ.สุพัตรา แสงรุจิ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า


คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) สำหรับอุ่นอาหารใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนคลื่นวิทยุ คลื่นทีวี คลื่นแสงแสงอินฟราเรด แสงแสงอัลตราไวโอเลต คลื่นรังสีเอ๊กและคลื่นรังสีแกมม่า คลื่นไมโครเวฟสำหรับอุ่นอาหารจะมีความถี่คลื่น 2,450 ล้านรอบต่อวินาที (หรือ 2,150 Megahertz) เมื่อคลื่นกระทบอาหารจะทำให้โมเลกุลของน้ำในและนอกอาหารเกิดการสั่นสะเทือนพร้อมกับเสียดสีกันจนเป็นความร้อน จึงทำให้อาหารอุ่นและสุกอย่างรวดเร็ว เมื่อคลื่นไมโครเวฟส่งโมเลกุลให้น้ำเรียบร้อยแล้ว คลื่นนั้นจะสลายตัวไม่สะสมอยู่ในอาหาร จึงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะแค่ทำให้อาหารอุ่นหรือสุกเท่านั้น


แสงในไมโครเวฟอันตรายหรือไม่? : ข่าวเล่าต่อกันมาว่ามองแสงในขณะที่ไมโครเวฟอันตรายต่อดวงตานั้นไม่จริง เพราะ คลื่นไมโครเวฟไม่สามารถทะลุผ่านตู้และฝาตู้ออกมาได้ เพราะคลื่นนี้มีแรงทะลุทะลวงต่ำกว่า อินฟราเรดแสงธรรมดา และอัลตราไวโอเลต และรังสีเอ๊กซ์หรือรังสีแกมมา แสงที่เราเห็นผ่านตู้คือแสงส่องสว่างภายในตู้เพื่อแสดงให้เห็นว่าว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่นั่นเอง


รังสีตกค้างในอาหารหลังอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ : อาหารที่อุ่นด้วยเตาไมโครเวฟจะไม่มีปะปนหรือตกค้างอยู่ในอาหาร เพราะรังสีที่ว่ามาเป็นคลื่นที่พุ่งผ่านไปในอาหาร เพื่อมอบพลังงานให้น้ำในและนอกอาหารให้เกิดความร้อน เมื่ออุ่นเสร็จจนครบเวลา อาหารยังคงอุ่นอยู่ และคลื่นดังกล่าวก็จะสลายไปนั่นเอง


ข้อควรระวังในการใช้เครื่องไมโครเวฟ

  1. เลือกซื้อจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานชัดเจน ประกอบดี ประตูปิดแน่นสนิท
  2. ทำตามคู่มือเตาไมโครเวฟอย่างเคร่งครัด
  3. ไม่วางของหนักบนตู้ เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงตู้เปิดเองขณะอุ่นอาหาร
  4. ถ้าตู้ชำรุด ไม่ควรซ่อมเองควรให้ช่างผู้ชำนาญซ่อมจะดีกว่า
  5. อย่านำดวงตาแนบกับฝาตู้ขณะเครื่องทำงาน
  6. ทำความสะอาดเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีในอาหารที่เราอุ่น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง: เรื่องปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟอันตรายจริงหรือ โดย รศ.พญ.สุพัตรา แสงรุจิ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 

 ภาพจาก: freepik.com

 


สั่งซื้อผ่าน LINE คลิก: https://lin.ee/k6RJmjC

Previous post Next post

0 comments

Leave a comment