THB
  • THB
  • USD
  • EUR
  • GBP

FREE SHIPPING in Thailand for orders over THB2,000!

ฝนตก น้ำท่วม ระวัง โรคฉี่หนู

ภาพจาก freepik.com

ฝนตก น้ำท่วม ระวัง โรคฉี่หนู

เข้าหน้าฝนทีไร น้ำท่วมทุกที แต่ถ้าจะพูดให้ดี เรียกน้ำรอการระบายดีกว่า การที่น้ำท่วมเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าในน้ำมีอะไรอยู่บ้างอาจมีสารเคมีอันตราย สัตว์มีพิษ เชื้อโรคต่างๆที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านผิวหนังหรือบาดแผล โดยเฉพาะโรคฉี่หนู

ข้อมูลจาก : รศ.นพ.วินัย รัตนสวรรณ  ภ.เวชศาสตรปองกันและสังคม Faculty of Medicine Siriraj Hospita คณะแพทย์ศาสตรศิริราชพยาบาล

โรคฉี่หนู (Leptospirosis) คืออะไร?

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เลปโตสไปรา อินเทอโรแกนส (Leptospira interrogans)  โดยแบคทีเรียชนิดนี้จะถูกขับมาจากปัสสาวะของสัตว์ ได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข และแรคคูณ เชื้อแบคทีเรียชนิดนนี้จะอยู่ตาม น้ำท่วมขัง แอ่งน้ำ คลอง และสามารถอยู่ได้นานมาก ถึง 1 เดือนได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย

ใครมีความเสี่ยงเป็น โรคฉี่หนู

  • ผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม
  • ผู้ที่เดินลุยน้ำท่วมขังที่สกปรก
  • ชาวนา ชาวสวน เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ 
  • อาชีพขุดท่อระบายน้ำ
  • นักท่องเที่ยวที่ชอบเดินป่า ลุยน้ำขัง เช่น แอ่งน้ำในป่า น้ำตก 

“โรคฉี่หนู” ติดต่อทางผิวหนังที่มีบาดแผล รอยขีดข่วนทางผิวหนัง หรือ ผิวหนังที่เปื่อยเพราะแช่น้ำนาน และสามารถเข้าทาง ตา จมูก ปาก ได้ ไม่พบการติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง แต่สามารถออกมาจากปัสสาวะของผู้ป่วยได้ และระยะฟักตัวของ เชื้อเลปโตสไปรา (leptospira ) อยู่ประมาณ 1-3 สัปดาห์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคฉี่หนู

“โรคฉี่หนู” ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อน้อยอาจไม่แสดงอาการ แต่สำหรับผู้ที่แสดงอาการ แบ่งได้เป็น 2 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 อาการใน 4-7 วันแรก จะมีอาการ

  • ไข้สูงทันที
  • ปวดศรีษะ มีอาการสับสน
  • ปวดเมื่อกล้ามเนื้อรุนแรง ที่กล้ามเนื้อต้นคอ น่อง และหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาแดง
  • ถ้าอาการรุนแรง จะมีอาการคอแข็ง ความดันต่ำ
  • ผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ตับ ม้ามโต (พบได้น้อย)

ระยะที่ 2 ผู้ป่วยมีอาการสร้าง anti-leptospira antibodies คือ โปรตีนที่เฉพาะต่อเชื้อโรคฉี่หนู จะพบหลังเริ่มมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ และไข้ลดลง 1-2 วัน และกลับมามีไข้อีกครั้ง พร้อมกับมีอาการ ปวดศรีษะ ไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน(ไม่รุนแรง) อาจพบเยื้อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ (อาการที่พบในผู้ป่วยบางรายคือ ตับและไตทำงานผิดปกติ และอาจมี กลุ่มที่มีอาการตาเหลือง และกลุ่มตาไม่เหลือง)

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.นพ.วินัย รัตนสวรรณ   ภ.เวชศาสตรปองกันและสังคม Faculty of Medicine Siriraj Hospita คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล

**************************************************************************************


สั่งซื้อผ่าน LINE คลิก: https://lin.ee/k6RJmjC

 

 

Previous post Next post

0 comments

Leave a comment